เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที =IT (อังกฤษ: information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วยเช่น
โทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์
มนุษย์จัดเก็บ ค้นคืน จัดดำเนินการ และสื่อสารสารสนเทศมาตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียโดยชาวซูเมอร์ ซึ่งได้พัฒนาการเขียนเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ศัพท์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในความหมายสมัยใหม่ ปรากฏขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1958 ในงานพิมพ์ ฮาร์เวิร์ดบิซเนสรีวิว (Harvard Business Review) ซึ่งเขียนโดย แฮโรลด์ เจ. เลวิตต์ และ โทมัส แอล. วิสเลอร์ โดยให้ความเห็นไว้ว่า "เทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นสิ่งเดียว เราจะเรียกมันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)" คำจำกัดความของศัพท์นี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีสามประเภทได้แก่ เทคนิคเพื่อการประมวลผล การประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ และการจำลองความคิดในระดับที่สูงขึ้นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจแบ่งได้เป็นสี่ยุคตามเทคโนโลยีการจัดเก็บและการประมวลผลที่ใช้ ได้แก่ ยุคก่อนเครื่องกล (3000 ปีก่อน ค.ศ. – คริสต์ทศวรรษ 1450) ยุคเครื่องกล (1450–1840) ยุคเครื่องกลไฟฟ้า (1840–1940) และยุคอิเล็กทรอนิกส์ (1940–ปัจจุบัน) บทความนี้จะให้ความสำคัญไปที่ยุคล่าสุด (ยุคอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเริ่มเมื่อประมาณคริสต์ทศวรรษ 1940
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจแบ่งได้เป็นสี่ยุคตามเทคโนโลยีการจัดเก็บและการประมวลผลที่ใช้ ได้แก่ ยุคก่อนเครื่องกล (3000 ปีก่อน ค.ศ. – คริสต์ทศวรรษ 1450) ยุคเครื่องกล (1450–1840) ยุคเครื่องกลไฟฟ้า (1840–1940) และยุคอิเล็กทรอนิกส์ (1940–ปัจจุบัน) บทความนี้จะให้ความสำคัญไปที่ยุคล่าสุด (ยุคอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเริ่มเมื่อประมาณคริสต์ทศวรรษ 1940
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน
การจัดการและปฏิบัติการของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล
ระดับกลุ่มหรือระดับองค์กรไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวมเป็น 5
องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร
และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ
รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง
ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของชุดคำสั่งที่สั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน
ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน
ซอฟต์แวร์สำเร็จทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง
และส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กร
ส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการ
โดยการว่าจ้างบริษัทที่รับพัฒนาซอฟต์แวร์
หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
ข้อมูล
ข้อมูล
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ
เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด
ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย
มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร
ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
บุคคลากร
บุคลากรในระดับผู้ใช้
ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม
เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้
ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น
โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น
ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ
สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนมาก
อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง
เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน
ในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง
ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลเสียหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย
เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ
และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน
ระบบ เป็นการรวมกันขององค์ประกอบย่อยๆ
ที่ทำหน้าที่ของตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กัน
เพื่อดำเนินงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
โดยระบบนั้นอาจเกิดโดยธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นก็ได้
ทั้งนี้ทุกระบบจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ
1) ปัจจัยนำเข้า (input) ได้แก่
จุดมุ่งหมาย ทรัพยากร ปัญหาต่างๆ
2) กระบวนการ (process) ได้แก่
ขั้นตอนการทำกิจกรรมหรือการดำเนินงาน และ
3) ผลลัพธ์ (output) ซึ่งเป็นผลงานหรือผลผลิตที่ได้ส่วนวิธีการเชิงระบบ
(systematic approach) หรือวิธีระบบ (system
approach) หรือเรียกได้ อีกอย่างหนึ่งว่าการจัดระบบ
เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน โดยวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องพัฒนาวิธีการบริหารจัดการและประเมินผลที่ได้
เพื่อปรับปรุงงาน จนกว่าจะมีประสิทธิภาพตามต้องการ
ขั้นตอนของวิธีการเชิงระบบ
สามารถสรุปได้ 10 ขั้นตอน ดังนี้คือ
ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา
เป็นการระบุปัญหาและสาเหตุของปัญหาให้ชัดเจน
รวมทั้งจัดลำดับความจำเป็นของปัญหาให้เห็นว่าปัญหาใดควรได้รับการพิจารณาก่อนหรือหลัง
ขั้นที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นการค้นคว้าข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา และระดับความสัมพันธ์กับปัญหาว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ทางเลือก
เป็นการศึกษาวิเคราะห์และแสวงหาทางเลือกหลายๆ แนวทางหรือหลายๆ ระบบ
โดยแต่ละแนวทางจะต้องวิเคราะห์ให้เห็นข้อดี ข้อจำกัด
ขั้นที่ 4 การกำหนดความเป็นไปได้
เป็นการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับนำไปดำเนินการ
ขั้นที่ 5
การพัฒนาโครงสร้างของระบบ
เป็นการนำเสนอโครงร่างของระบบ โดยแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยเอกสาร ข้อมูล
ที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน
ขั้นที่ 6 การพัฒนาระบบนำร่องหรือระบบต้นแบบ
เป็นการทดสอบความเป็นไปได้ของระบบที่จะสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 7 การออกแบบระบบ
เป็นการพัฒนากลไกที่จะทำให้ระบบสามารถดำเนินงานได้
ขั้นที่ 8 การพัฒนาโครงการ
เป็นการพัฒนาโครงการของระบบที่ออกแบบไว้ตาม
รายละเอียดที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้ว ซึ่งในการพัฒนาโครงการจะต้องให้รายละเอียดที่ชัดเจนและสมบูรณ์
แสดงความสอดคล้องขององค์ประกอบในโครงการหรือในระบบหลักทั้งหมด
รวมทั้งกำหนดเกณฑ์ในการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของโครงการนั้น
ขั้นที่ 9 การนำระบบไปใช้งาน
โดยมีการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ ผู้ปฏิบัติได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ความเข้าใจวิธีการดำเนินงานและทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ
ของระบบใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น
ขั้นที่ 10 การติดตามและประเมินผลระบบ
เป็นการติดตามการดำเนินงานของระบบ โดยกำหนดจุดตรวจสอบไว้เป็นระยะหรือทุกขั้นตอน
เพื่อให้ทราบถึงปัญหา ความบกพร่อง
ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น
ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพตามต้องการ
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์การ
หรือหน่วยงาน ที่นำซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้
อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่าย
เพื่อระบบงานภายในโดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริการแก่บุคลากร
เครือข่ายอินทราเน็ต จะต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยหรือไม่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ
แต่แนวคิดหลักของอินทราเน็ต คือ
การสร้างเครือข่ายในองค์การโดยมีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเทอร์เน็ต
และขยายเทอร์มินัลเครือข่ายไปยังทุกแผนก ให้บุคลากรสามารถค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้
เซิร์ฟเวอร์หลักภายในอินเทอร์เน็ต คือ เว็บเซิร์ฟเวอร์
ซึ่งใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารระบบ WWW ให้บริการข้อมูลได้ทั้งข้อความเสียง
ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวผ่านทางโปรแกรม Browser ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งานโปรแกรม
Browser ส่วนใหญ่ได้ผนวกบริการหลักของอินเทอร์เน็ตไว้ในตัว
เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การถ่ายโอนย้ายแฟ้ม (FTP)
หรือกระดานข่าย (Use Net)
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology) หรือเรียกโดยย่อว่า “ไอที”
ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บรวบรวม เรียกใช้
และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้สำหรับงาน
ไอที คือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม
ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม
หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง
อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอที
หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารในการทำงานประจำวัน
อินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ
ทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่นๆ
ของโลกได้อย่างรวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก
และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท
จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับบุคคลและองค์การ
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้รวดเร็ว มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยผ่านสายสื่อสาร ซึ่งเราเรียกว่า การเชื่อมต่อแบบเครือข่าย (Network)
ถ้าต่อเชื่อมกันใกล้ ๆ ในพื้นที่เดียวกันเรียกว่า LAN (Local
Area Network) ถ้าการเชื่อมต่อเครือข่ายทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า
LAN เรียกว่า MAN (Metropolitan Area Network) ถ้าเชื่อมต่อกันไกล ๆเช่น ข้ามประเทศเรียกว่า WAN (Wide Area
Network)
การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ข้อมูลต่าง
ๆ
ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมาก
และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด
และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด
สำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ซึ่งผู้บริหารและองค์กรที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ จากการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชาญฉลาดในการสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ
อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น
ที่จะได้พบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้มีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ
ในยุคเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันกันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน
เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย
ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ
รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค
วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์
และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน
ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer - Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ
ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง
และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด
จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง
และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
- การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม
การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี
มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล
และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา
การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ
(Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based
Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based
Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น
- อิเล็กทรอนิกส์บุค
คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม
หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร
ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ
หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์
ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง
ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ
จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ
ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน
ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
- วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์
หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย
เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย
ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน
และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้
ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์
ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง
นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง
ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน
เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง
ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน
ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง
อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
- การสืบค้นข้อมูล
(Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก
แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล
จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า
www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่
ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ
โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป
ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง
และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้
โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก
ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia
DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล
เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น